เมนู

ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควร
เคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมแสดงธรรม ทั้งไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟัง ตาม
ที่ได้เรียนมาแก่ผู้อื่น โดยพิสดาร ทั้งไม่กระทำการท่องบ่นธรรม ตามที่
ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมา โดยพิสดาร ทั้งไม่ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตาม
ธรรม ตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาด้วยใจ อีกอย่างหนึ่ง สมาธินิมิต
อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เธอเรียนดีแล้ว ทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทง
ตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา เธอเป็นผู้รู้อรรถและเป็นผู้รู้ธรรมในธรรมนั้น
โดยประการที่สมาธินิมิต อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ภิกษุเรียนดีแล้ว กระทำไว้
ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ความปราโมทย์
ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้อรรถ รู้ธรรม เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมี
ปีติ กายยู่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น
นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะ ข้อที่ห้า. ธรรม 5 อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง.
[420] ธรรม 5 อย่าง ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ ธรรม
ขันธ์ 5 คือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณ-
ทัสสนขันธ์ ธรรม 5 อย่างเหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง. ธรรม 5 อย่างเหล่านี้
จริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้ว
โดยชอบ.

ว่าด้วยธรรมหมวด 6



[421] ธรรม 6 อย่างมีอุปการะมาก ธรรม 6 อย่างควรเจริญ
ธรรม 6 อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม 6 อย่างควรละ ธรรม 6 อย่าง

เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม 6 อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม 6
อย่าง แทงตลอดได้ยาก ธรรม 6 อย่าง ควรให้เกิดขึ้น ธรรม 6 อย่าง
ควรรู้ยิ่ง ธรรม 6 อย่าง ควรทำให้แจ้ง.
[422] ธรรม 6 อย่าง มีอุปการะมากเป็นไฉน. ได้แก่ สาราณีย-
ธรรม 6 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม
ประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้
ก็เป็นสาราณียธรรม ทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
สงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันเดียวกัน.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ใน
เพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ทำให้
เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท
เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันเดียวกัน.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา. . . ย่อม
เป็นไป เพื่อความเป็นอันเดียวกัน.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุแบ่งปันลาภอันประกอบด้วยธรรม ได้มา
แล้วโดยธรรม แม้โดยที่สุด แม้เพียงของที่เนื่องด้วยบิณฑบาตเฉลี่ยกันบริโภค
กับเพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ทำให้เป็นที่รัก เป็น
ที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุมีศีลเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้า
และลับหลังในศีลทั้งหลาย ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ต่าง ไม่พร้อย เป็นไท ผู้รู้-
สรรเสริญแล้ว กิเลสไม่ถูกต้องแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ แม้นี้ก็เป็นสาราณีย-

ธรรม ทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์
เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันเดียวกัน.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุมีทิฏฐิเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อ
หน้าและลับหลัง ในทิฏฐิอันเป็นอริยะนำออกจากทุกข์ นำผู้ปฏิบัติเพื่อความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ
ย่อม เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อ
ความเป็นอันเดียวกัน. ธรรม 6 อย่างเหล่านี้ มีอุปการะมาก.
[423] ธรรม 6 อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่ ที่ตั้งอนุสสติ 6
คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ
เทวตานุสสติ ธรรม 6 อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ.
[424] ธรรม 6 อย่าง ควรกำหนดรู้เป็นไฉน. ได้แก่ อายตนะ
ภายใน 6 คือ จักขวายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ
กายายตนะ มนายตนะ. ธรรม 6 อย่างเหล่านี้ ควรกำหนดรู้.
[425] ธรรม 6 อย่าง ควรละเป็นไฉน. ได้แก่ หมู่ตัณหา 6
คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา
ธัมมตัณหา. ธรรม 6 อย่างเหล่านี้ ควรละ.
[426] ธรรม 6 อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. ได้แก่
อคารวะ 6 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ
ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ในความไม่
ประมาท ในการปฏิสันถาร. ธรรม 6 อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม.
[427] ธรรม 6 อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่

คารวะ 6 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ในความ
ไม่ประมาท ในการปฏิสันถาร. ธรรม 6 อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนวิเศษ
[428] ธรรม 6 อย่าง แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่
ธาตุเป็นที่ตั้งแห่งความสลัดออก 6 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมตตาเจโตวิมุติอันเราเจริญแล้ว ทำให้
มากแล้ว ทำให้เป็นยาน ทำให้เป็นวัตถุแล้ว ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว
ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้น พยาบาทยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่.
ภิกษุนั้น พึงถูกกล่าวว่า เธออย่าพูดอย่างนี้ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ อย่า
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงตรัส นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อ
เมตตาเจโตวิมุติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว
ทำให้เป็นวัตถุแล้ว ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น
พยาบาทก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ดังนี้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้
เพราะเมตตาเจโตวิมุตินี้ก็เป็นที่สลัดออกจากพยาบาท.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
กรุณาเจโตวิมุติอันเราเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำ
ให้เป็นวัตถุแล้ว ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น
ความเบียดเบียนยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่. ภิกษุนั้น พึงถูกกล่าวว่า
เธออย่ากล่าวอย่างนี้ ... นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส... คำที่ว่า เมื่อกรุณา
เจโตวิมุติ... ปรารภดีแล้ว ก็เมื่อเป็นเช่นนั้นความเบียดเบียนยังครอบงำจิต

ของภิกษุนั้นตั้งอยู่ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ กรุณาเจโตวิมุตินี้ ก็เป็นที่
สลัดออกจากความเบียดเบียน.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
มุทิตาเจโตวิมุติ . . . . . ปรารภดีแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ความไม่ยินดียังครอบ
งำจิตของเราตั้งอยู่. ภิกษุนั้น พึงถูกกล่าวว่า เธออย่าพูดอย่างนี้ . . . . .
นั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อมุทิตาเจโตวิมุติ . . . . . ปรารภดีแล้ว
เมื่อเป็นเช่นนั้น ความไม่ยินดียังครอบงำจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ นั่นมิใช่
ฐานะที่จะมีได้ มุทิตาเจโตวิมุตินี้ ก็เป็นที่สลัดออกจากความไม่ยินดี.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
อุเบกขาเจโตวิมุติ . . . . . ปรารภดีแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ราคะยังครอบงำจิต
ของเราตั้งอยู่. ภิกษุนั้นพึงถูกกล่าวว่า เธออย่าพูดอย่างนี้ . . . . . นั่นมิใช่
ฐานะ มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่ออุเบกขาเจโตวิมุติ . . . . . ปรารภดีแล้ว เมื่อ
เป็นเช่นนั้น ราคะยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้
อุเบกขาเจโตวิมุตินี้ ก็เป็นที่สลัดออกจากราคะ.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
เจโตวิมุติ อันหานิมิตมิได้ . . . . ปรารภดีแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้นวิญญาณของ
เรา ย่อมไปตามนิมิต ภิกษุนั้นพึงถูกกล่าวว่า เธออย่าพูดอย่างนี้ . . . .
นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อเจโตวิมุติ อันหานิมิตมิได้ . . . .
ปรารภดีแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้นวิญญาณอันไปตามนิมิต จักมีแก่ภิกษุนั้น
นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ เจโตวิมุติอันหานิมิตมิได้นี้ ก็เป็นที่สลัดออกจาก
นิมิตทั้งปวง.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อ

ถือว่าเรามีอยู่ดังนี้ ของเราหมดไปแล้ว เราย่อมไม่พิจารณาเห็นว่าเรานี้มีอยู่
เมื่อเป็นเช่นนั้น ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัยยังครอบงำจิตของเรา
ตั้งอยู่. ภิกษุนั้นพึงถูกกล่าวว่า เธออย่าพูดอย่างนี้ . . . . นั่นมิใช่ฐานะ
มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อถือว่าเรามีอยู่ หายไปแล้ว และเมื่อเขาไม่พิจารณา
เห็นว่าเรานี้มีอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้น ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย ยัง
ครอบงำจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ การถอนอัสมิมานะนี้
ก็เป็นที่สลัดออกจากลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย. ธรรม 6 อย่าง
เหล่านี้ แทงตลอดได้ยาก.
[429] ธรรม 6 อย่างควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ ธรรม
เป็นเครื่องอยู่เนือง ๆ 6 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยตา ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่. ฟังเสียง
ด้วยหู . . . . ดมกลิ่นด้วยจมูก. . . . ลิ้มรสด้วยลิ้น . . . . ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ด้วยกาย . . . . รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย วางเฉย มีสติ
สัมปชัญญะอยู่. ธรรม 6 อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.
[430] ธรรม 6 อย่าง ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ อนุตตริยะ 6 คือ
ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ปาริจริยา-
นุตตริยะ อนุสสตานุตตริยะ. ธรรม 6 อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง
[431] ธรรม 6 อย่าง ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ อภิญญา
6 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุ การแสดงฤทธิ์
ได้หลายอย่าง แม้คนเดียวทำเป็นหลายคนได้ แม้หลายคนก็ทำเป็นคน
เดียวได้ ทำให้ปรากฏ ทำให้หายตัว ทะลุฝากำแพงภูเขาไปไม่ติดขัด เหมือน
ไปในอากาศก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ

ไม่แยก เหมือนบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปบนอากาศ เหมือนนกก็ได้ ลูบไล้
พระจันทร์พระอาทิตย์ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้
อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.
เธอได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งไกล
และใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์.
เธอ กำหนดรู้ใจ ของสัตว์อื่น บุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ
ย่อมรู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมี
โทสะ รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมี
โมหะ รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่
รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ. รู้ว่า จิตเป็น
มหัคคตะ หรือจิตเป็นอมหัคคตะ รู้ว่าจิตเป็นอมหัคคตะ. จิตเป็นสอุตตระ
รู้ว่าจิตเป็นสอุตตระ หรือ จิตเป็นอนุตตระ รู้ว่าจิตเป็นอนุตตระ จิตตั้งมั่น
รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่น รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นแล้ว รู้ว่า
จิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้น รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น.
ภิกษุนั้น ระลึกถึงชาติก่อนได้หลายอย่าง คือ หนึ่งชาติบ้าง สอง
ชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง
สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง
แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปไม่น้อยบ้าง วิวัฏฏกัปไม่น้อยบ้าง สังวัฏฏ-
วิวัฏฏกัปไม่น้อยบ้าง ว่าในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิว-
พรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้
จุติจากภพนั้นไปเกิดในภพโน้น ในภพนั้นเรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้

มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้
ครั้นจุติจากภพนั้นมาเกิดในภพนี้ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายอย่างพร้อม
ทั้งอาการ อุเทศด้วยประการฉะนี้.
เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ อุปบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี
ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้
ถึงหมู่สัตว์ไปตามกรรมว่า สัตว์ผู้เจริญเหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถือกรรม
เป็นมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก หรือ สัตว์ผู้เจริญเหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต
มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยะเจ้าแล้ว เป็นสัมมาทิฏฐิ ถือกรรมเป็น
สัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขา เข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์
เธอเห็นหมู่สัตว์ ที่กำลังจุติ อุปบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี
ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์
ย่อมรู้ถึงหมู่สัตว์ ไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้.
เธอกระทำให้แจ้ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ
อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าอยู่. ธรรม 6 อย่าง
เหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง. ธรรม 60 เหล่านี้ จริง แท้ แน่นอน.ไม่ผิดพลาดไม่
เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้ว โดยชอบด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยธรรมหมวด 7



[ 432 ] ธรรม 7 อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม 7 อย่างควรเจริญ
ธรรม 7 อย่างควรกำหนดรู้ ธรรม 7 อย่างควรละ ธรรม 7 อย่าง
เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม 7 อย่างเป็นไปในส่วนพิเศษ ธรรม 7